วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทวิเคราะห์คุณค่าทางวรรณศิลป์ เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ



             บทวิเคราะห์คุณค่าทางวรรณศิลป์ เรื่องพระอภัยมณี  ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
                           พงศ์กษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย              ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม
                                   ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนคำคม                   ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง
                                  ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด                             ดังสุรางค์นางนาฎในวังหลวง
                                  พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง                    แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป
                                  จึงตรัสว่าตาเงือกมาคอยรับ                                 ช่างสมกับวาจาจะหาไหน
                                   เราล่อลวงนางผีเสื้อก็เชื่อใจ                               เดี๋ยวนี้ไปแรมทางกลางอรัญ
                                  ช่วยเมตตาพาตรงไปส่งที่                                      พระโยคีมีเวทวิเศษขยัน
                                  กลางคงคาปลาร้ายก็หลายพรรณ                         จะป้องกันภัยพาลประการใด ฯ
โวหารในวรรณคดี
บทประพันธ์ที่ได้กล่าวมาจากข้างบนนี้เป็น บทเสาวรจนีย์ หรือ บทชมโฉม
บทเสาวรจนีย์ หรือ บทชมโฉม คือการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่งอาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง
ซึ่งในบทนี้ เป็นการชมความงามของนางเงือก ซึ่งเป็นตัวละครที่มี ท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นปลา มีรูปโฉมงดงามยิ่งนัก ทั้งรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ รวมถึง ทรวงอก ที่เปล่งปลั่งเต่งตึง อีกทั้ง คิ้ว ตา ผม มือ ดูสะอาดสะอ้าน อ่อนช้อยดั่งนางสนมคอยรับใช้ในวังหลวง
การใช้คำ  มีการเล่นสัมผัสอักษร ดังปรากฏในบาทนี้ “ แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป”  
คำที่เล่นคือคำว่า  หนัก หน่วง และหนี ซึ่งเป็นการใช้ตัว ห นำ ตัว น  
   มีการเล่นสัมผัสสระ ดังปรากฏในบาทนี้ “ ดังสุรางค์นางนาฎในวังหลวง” ซึ่งเป็นการเล่นเสียงสระ อา ในคำว่า สุรางค์ นาง และนาฎ

                                    เงือกผู้เฒ่าเคารพอภิวาท                                  ขอรองบาทบริรักษ์จนตักษัย
                                   เสด็จขึ้นทรงบ่าจะพาไป                                                   พระหน่อไทให้ขี่ภริยา
                                  อันอำนาจชาติเชื้อผีเสื้อน้ำ                                               ปลาไม่กล้ำกรายกลัวทั่วทิศา
                                 ด้วยกลิ่นอายคล้ายท่าผู้มารดา                                           เมื่อจับข้าข้าจึงอ่อนหย่อนกำลัง
                                 สัตว์ในน้ำจำแพ้แก่ผีเสื้อ                                                  เปรียบเหมือนเนื้อเห็นพยัคฆ์ให้ชักหลัง
                                อย่าเกรงภัยในชลที่วนวัง                                                  ขึ้นนั่งยังบ่าข้าจะพาไป ฯ
การใช้ภาพพจน์
ภาพพจน์คือการใช้ภาษาเพื่อให้กระทบจิตใจผู้อ่าน และเกิดอารมณ์สะเทือนใจเพื่อให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจโดยใช้ถ้อยคำภาษาที่ไม่กล่าวแบบตรงๆด้วยวิธีการต่างๆ
การอุปมา คือความเปรียบซึ่งเกิดจากการบอกความเหมือนกันของสิ่งของสองสิ่งด้วยคำที่แสดงการเปรียบเทียบ เช่น ราวกับ เหมือน ประหนึ่ง ดุจ ดังฯลฯ
ดังปรากฏในบาทกลอนนี้ว่า  “สัตว์ในน้ำจำแพ้แกผีเสื้อ เปรียบเหมือนเนื้อเห็นพยัคฆ์ให้ชักหลัง” ซึ่งในบทประพันธ์นี้ใช้คำว่า เหมือน มากล่าวไว้ คือ สัตว์ทะเลทั้งหลายในน้ำก็จำต้องพ่ายแพ้แกนางผีเสื้อสมุทร เปรียบเหมือนกับเนื้อทราย เมื่อเห็นเสื้อเข้าก็ต้องหลบหนีเพื่อเอาตัวรอดให้พ้นอันตราย

                                พงศ์กษัตริย์ตรัสชวนสินสมุท                         สอนให้บุตรขอสมาอัชฌาสัย
                               พระทรงบ่าเงือกน้ำงามวิไล                                             พระหน่อไทขอสมาขึ้นบ่านาง
                               เงือกประคองสององค์ลงจากฝั่ง                                      มีกำลังลีลาศค่อยวาดหาง
                              ค่อยฟูฟ่องล่องน้ำในท่ามกลาง                                        ลูกสาวนางเงือกงามตามลีลา ฯ
 
การเล่นคำ มีการซ้ำคำ  คือคำว่า ขอสมา ซึ่งแปลว่า ขอโทษ ขออภัย เห็นได้จากบาทกลอนในสองวรรคนี้ “สอนให้บุตรขอสมาอัชฌาสัย” และ “พระหน่อไทขอสมาขึ้นบ่านาง”

                         โฉมยงองค์อภัยมณีนาถ                                    เพลินประพาสพิศดูหมู่มัจฉา
                          เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา                                      ค่อยเคลื่อนคลาคล้ายคล้ายในสายชล
                          ฉนากอยู่คู่ฉนากไม่จากคู่                                                   ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน
                          ฝูงพิมพาพาฝูงเข้าแฝงวน                                                บ้างผุดพ่นฟองน้ำบ้างดำจร
                          กระโห้เรียงเคียงกระโห่ขึ้นโบกหาง                             ลอยสล้างกลางกระแสแลสลอน
                         มังกรเกี่ยวเลี้ยวลอดกอดมังกร                                         ประชุมซ่อนแฝงชลขึ้นวนเวียน
                         ฝูงม้าน้ำทำท่าเหมือนม้าเผ่น                                           ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน
                         ตะเพียนทองล่องน้ำนำตะเพียน                                      ดาษเดียรดูเพลินจนเกินมา
                         เห็นละเมาะเกาะเขาเขียวชะอุ่ม                                     โขดตะคุ่มเคียงเคียงเรียงรุกขา
                         จะเหลียวซ้ายสายสมุทรสุดสายตา                                   จะแลขวาควันคลุ้มกลุ้มโพยม
                         จะเหลียวดูสุริย์แสงเข้าแฝงเมฆ                                      ให้วิเวกหวาดองค์พระทรงโฉม
                          ฟังสำเนียงเสียงคลื่นดังครื้นโครม                                  ยิ่งทุกข์โทมนัสในฤทัยทวี
                          พอเย็นย่ำค่ำพลบลงโพล้เพล้                                           ท้องทะเลมืดมัวทั่ววิถี
                         พระห้ามเงือกสองราด้วยปราณี                                        ประเดี๋ยวนี้ลมกล้าสลาตัน
                        เห็นละเมาะเกาะใหญ่ที่ไหนกว้าง                                    หยุดเสียบ้างให้สบายจึงผายผัน
                        เราหนีนางมาได้ก็ไกลครัน                                               ต่อกลางวันจึงค่อยไปให้สำราญ ฯ
ในบาทนี้เป็นอิกหนึ่งบาทที่มีความไพเราะ งดงาม ทางภาษา และ ลีลาในการประพันธ์
มีการซ้ำคำ  มีการใช้คำซ้ำอยู่ในหลายบาท เช่น
             “เหล่าฉลามล้วนฉลามตามกันมา”                 
             “กระโห้เรียงเคียงกระโห้ขึ้นโบกหาง”
             “มังกรเกี่ยวเลี้ยวบอดกอกมังกร                     
            “ตะเพียนทองล่องน้ำนำตะเพียน”    


การเล่นสัมผัสอักษร หรือสัมผัสพยัญชนะ คือการซ้ำเสียงพยัญชนะของคำที่อยู่ใกล้ๆกัน
ซึ่งเห็นได้ชัดเจนดังนี้ 
 “ค่อยเคลื่อนคลาดคล้ายคล้ายในสายชล”  เป็นการสัมผัสอักษร ค ได้แก่คำว่า ค่อย คลา  เคลื่อน และคล้าย  คำว่าคล้ายใช้ซ้ำกันอยู่สองครั้ง
 “ขึ้นฟ่องฟูพ่นฟองละอองฝน”       เป็นการเล่นสัมผัสอักษร ฟ ได้แก่คำว่า ฟ่อง  ฟู  และฟอง
“ขึ้นลอยเล่นเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน”     เป็นการเล่นสัมผัสอักษร ล ได้แก่คำว่า  ลอย  เล่น  เลี้ยง  และลัด
การใช้คำอุปมา ในที่นี้มีคำว่า “เหมือน”ปรากฏอยู่ในบาทกลอนที่ว่า “ฝูงม้าน้ำทำท่าเหมือนม้าเผ่น” ซึ่งเปรียบเทียบพฤติกรรมของม้าน้ำที่มีกริยาคักคัก คึกคะนอง เหมือน ม้า  
                      ตาเงือกน้ำซ้ำสอนพระทรงศักดิ์                                       ยังใกล้นักอย่าประมาททำอาจหาญ
                        นางรู้ความตามมาไม่ช้านาน                                                            จะพบพานพากันตายวายชีวัน
                       อันตาข้าถ้าค่ำเห็นสว่าง                                                                      ทั้งเดินทางเรี่ยวแรงแข็งขยัน
                       ถ้าแดดกล้าตามัวเป็นหมอกควัน                                                      จะผายผันล่วงทางไปกลางคืน
                       แล้วว่ายแหวกแบกองค์พงศ์กษัตริย์                                                 พลางสะบัดโบกหางไปกลางคลื่น
                       สลาตันลั่นพิลึกเสียงครึกครื้น                                                           จนดึกดื่นรีบรุดไม่หยุดเลย
                       ครั้นรุ่งเช้าเข้าเกาะเสาะลูกไม้                                                          พระลูกให้บิตุรงค์ทรงเสวย
                       เงือกก็หาอาหารกินตามเคย                                                               แล้วรีบเลยล่วงไปในคงคา ฯ
   การใช้สัทพจน์หรือการเลียนเสียงธรรมชาติ เป็นภาพพจน์ที่เกิดจากการสร้างคำอย่างหนึ่ง คำชนิดนี้จะบอกความหมายซึ่งเป็นธรรมชาติชนิดนั้นๆอย่างชัดเจน เพราะคนเราได้ยินเสียงเหล่านั้นคุ้นหูอยู่แล้ว การใช้คำเหล่านี้ในการเขียนหรือพูดนอกจากจะทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังนึกถึงเสียงในธรรมชาติแล้ว ยังนึกถึงภาพซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เสียงนั้นปรากฏอยู่ทำให้เกิดจินตนาการและภาพพจน์ได้อย่างแจ่มชัดอีกด้วย
ดังปรากฏในบทกลอนนี้ “สลาตันลั่นพิลึกเสียงครึกครื้น”  คำว่า  ครึกครื้น เลียนแบบเสียงธรรมชาติ คือ เสียงคลื่นในทะเล
การเล่นเสียงพยัญชนะ คือ การใช้พยัญชนะเดียวกันหลายพยางค์ติดๆ กัน (การใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะเสียงเดียวกัน เช่น เพื่อน-พ้อง) ร้อยกรองโดยทั่วไปไม่บังคับสัมผัสพยัญชนะ แต่กวีนิยมใช้เสียงสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้มีความไพเราะ เช่น  "ปัญญาตรองตริลำลึกหลาย" (โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีเสียงสัมผัสพยัญชนะ คือ ตรอง-ตริ,ลำ-ลึก-หลาย
                ดังปรากฏในบทกลอนนี้นางรู้ความตามมาไม่ช้านาน  จะพบพานพากันตายวายชีวัน”
เป็นการเล่นเสียงพยัญชนะตัว “พ”  ในคำว่า พบพานพา  ทำให้ความหมายชัดเจนขึ้น ว่าเมื่อนางผีเสื้อสมุทรตามมาพบก็จะพากันตายทั้งหมดได้
                การใช้อุปลักษณ์เป็นการเปรียบว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำว่าเป็น
                ดังปรากฏในบทกลอนนี้ “ถ้าแดดกล้าตามัวเป็นหมอกควัน    จะผายผันล่วงทางไปกลางคืน” เป็นการเปรียบตาที่มัวเหมือนอยู่ท่ามกลางหมอกควัน จนเสมือนว่ากลางวันกลายเป็นกลางคืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น